วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

โ ร ค แ ล ะ ก า ร ป้ อ ง กั น รั ก ษ า

             วิธีป้องกันรัษาโรคต่างๆ ก็คล้ายคลึงกับไก่และเป็ด ซึ่งต้องอาศัยหลักและวิธีการปฎิบัติต่างๆ ทั้งการระวังไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามา และต้องมีการรักษาสุขภาพอนามัยตลอดการ วิธีการเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการป้องกันเชื้อโรค สำหรับนกที่มาจากภายนอกฟาร์มควรกักไว้ต่างหากสักระยะหนึ่งก่อนที่จะเข้ามา รวมกับนกในฝูง เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นการนำโรคจากภายนอกเข้ามาในฝูง


          1.ความแข็งแรงและสุขภาพของนก

               ลูกนกเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายกว่านกใหญ่ ตามธรรมดาลูกนกเหล่านี้จะฟักและเลี้ยงรวมกันมากตัว ฉะนั้นจึงมีโอกาสจะแพร่เชื่อติดต่อโรคต่างๆได้ง่าย
      หลักการรักษาความปลอดภัยในเรื่องโรค ควรมีดังนี้
      1.     ควรซื้อไข่หรือนกจากฟาร์มที่แยกอยู่เดี่ยวโดด และห่างจากฟาร์มสัตว์ปีกต่าง
      2.     ควร จะหาซื้อนกจากแหล่งที่แน่ใจว่าปลอดโรคติดต่อต่างๆ โดยมีบันทึกหรือหนังสือรับรองการให้วัคซีนต่างๆ และการใช้ยาป้องกันโรคต่างๆในระหว่างการเลี้ยงดูนกนั้นๆ
      3.     ควรหาซื้อนกจากฝูงที่มไมีโรคติดต่อ หรือพญาธิต่างๆ
      4.     ต้องมีการดำเนินการทำวัคซีนตามกำหนดเวลา เพื่อป้องกันโรค
      5.     ไม่ควรใช้ไข่ฟักจากฝูงที่กำลังป่วย
      6.     ควรซื้อหาเฉพาะไข่ฟักหรือลูกนกจากฝูงที่ได้ตรวจและปอดโรคขี้ขาว
      7.     ควรตรวจตราฝูงนกและตู้ไข่บ่อยๆ เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันโรคระบาด



          2.โรคของนกกระทา

               โรคที่เกิดกับนกกระทาคล้ายคลึงกับในไก่ แต่นกกระทามีความต้านทานต่อโรคมากกว่าไก่ และถ้าดูแลดีจะไม่ปรากฎว่าล้มตายมากเลยมีโรคหลายโรคที่แพร่ติดต่อมาจากแม่นก ถึงไข่ ทำให้ตัวอ่อนในไข่ได้รับภัยจากเชื้อโรคในระหว่างการฟักไข่ อาทิ เช่น จำพวกซัลโมเนลล่า เชื้อพวกมัยโคพลาสมา ไวรัสของโรคไข้สมองอักเสบ พวก lymphoid leukosis เชื้อโรคหลอดลมอักเสบ เชื้อโรคนิวคาสเซิล สำหรับโรคที่เกิดกับนกกระทาทั้งที่ติดต่อและไม่ติดต่อเท่าที่พบแล้วในบ้าน เราได้แก่ โรคนิวคลาสเซิล ฝีดาษ หวัดมีเชื้อ บิดมีเลือด มาเร็กซ์ เป็นต้น นอกจากนี้พยาธิต่างๆ ที่พบในไก่ก็อาจพบในนกกระทาได้ในปัจจุบัน มีกพบการ ระบาดของโรคนวคลาสเซิลในนกกระทา แต่การตายจะไม่รุนแรง เหมือนในไก่


          3. การป้องกันโรค

               เช่นเดียวกับในไก่ การป้องกันโรคเป็นวิธีที่ดีกว่าการรักษาวิธีป้องกันโรคต่างๆ ของนกกระทานี้ก็เหมือนกับของสัตวืปีกอื่นๆ ซึ่งต้องอาศัยหลักการและวิธีปฎิบัติต่างๆ ทั้งการระวังไม่ใช้เชื้อโรคแพร่เข้ามา และการรักษาสุขภาพ อนามัยตลอดเวลา วิธีการเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการสกัดกัน้การแพร่ของเชื้อโรค ด้วยเหตุนี้การมีฝูงนกที่ไม่มีโรคติดต่อ จึงมีความ สำคัญเป็นอันดับแรก ไม่ควรลืมว่าทางแพร่ของโรคมีได้หลายางทั้งอาจเห็นได้และที่แอบแฝงมา ปัจจุบันมีวิธีตรวจหาโรคติดต่อที่สำคัญๆ เพือ่หาทางการตรวจตราไข่ และลูกนก ควรกักนกที่ส่งมาจากภายนอก โดยขังแยกต่างหากจากนกและสัตว์อื่นไว้สัก 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะเอาเข้ามารมกับนกในฝูง ให้อาหารและเลี้ยงดูเช่นเดียวกับนกที่เลี้ยวไว้ต่อไป ควรหมั่นสังเกตตัวนก ตรวจดูอาการของโรคทุกวัน เมื่อพบอาการของโรคก็ควรจะรีบนำไปวินิจฉัยให้รู้แน่นอน นกที่เหลือหากมีอาการไม่ดีควรทำลาย กรงและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับนกใหญ่ควรทำความสะอาด และฉีดล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค


          4. การป้องกันศัตรูพวกนกหนูและแมลงต่างๆ

               ศัตรูพวกนี้อาจเป็นสื่อนำโรคต่างๆ อย่างน้อยก็มาแย่งอาหารนก และเพิ่มความสกปรกให้แก่บริเวณที่มันเข้าถึง แมลงสาบ แมลงต่างๆ หนูที่หลุดเข้าไปหรือที่มีในธรรมชาติ นกที่มีอยู่ในธรรมชาติ และศัตรูต่างๆ จำพวกนี้เป็นภัย ต่อการดำเนินการและความปกติสุขของนก การป้องกันควรเริ่ม ตั้งแต่ก่อนย้ายเข้าอาคาร หรือเรือนโรงใหม่ โดยการสำรวจอุดรูโหว่ต่างๆ ขจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีด ใช้กับดัก รวมทั้งกวดขันการรักษาความสะอาดในการขจัดสิ่งรกรุงรังต่างๆ ทั้งนี้การใช้ยา ปราบศัตรูเหล่านี้ ควรให้อยุ่ในความควบคุมของผู้ที่รู้หรือเข้าใจใช้

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

ก า ร ผ ส ม พั น ธุ์ น ก ก ร ะ ท า

          นกกระทาตัวผู้และตัวเมีย ที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์นั้นจะต้องคัดเลือกตัวที่มีลักษณะดี เช่น ตัวผู้จะต้องเป็นนกที่มีความเจริญ เติบโตเร็ว แข็งแรงมีลักษณะสมกับเป็นพ่อพันธุ์ ส่วนตัวเมียก็ต้องเป็นนกที่มีการเจริญเติบโตเร็วแข็งแรง เช่นกัน และเมื่อเริ่มเป็นสาวจะพบว่า ส่วนท้องติดก้นมีลักษณะใหญ่ ทั้งนกตัวผู้และนกตัวเมียที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องมีอายุอยู่ระหว่าง 50 -70 วัน

          ในการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ผลดี ควรระวังอย่าให้มีการผสมเลือดชิดกันจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกนกที่เกิดมาพิการ หรือเปอร์เซ็นการฟักออกเป็นตัวจะลดน้อยลงควรจะให้วิธีผสมเลือดห่างๆ หรือผสมข้ามพันธุ์ เพื่อจะได้รักษาพันธุ์ไว้ได้ต่อไป

          อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ ควรใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 2 ตัว เพื่อจะได้ไข่ฟักที่มีเชื้อดี หรือหากจำเป็นไม่ควรใช้พ่อพันธุ์ หนึ่งตัวต่อแม่พันธุ์เกิน 3 ตัว

          โดยทั่วไปแล้วเมื่อแม่พันธุ์นกได้รับการผสมพันธุ์ จากพ่อพันธุ์แล้ว ไข่จะ เริ่มมีเชื้อเมื่อวันที่ สอง และจะมีเชื่อต่อไปถึง 6 วัน แต่ไม่เกิน 10 วัน หลังจากแยกตัวผู้ออกแล้ว แต่ถ้าจะให้แน่ใจควรจะเก็บไข่ฟักเมื่อแม่นกได้รับการผสมไปแล้ว 5 วัน และไม่เกิน 7 วัน หลังจากแยกพ่อพันธุ์ออกแล้ว

          การมีเชื้อของไข่ มักจะเริ่มลดลง เมื่อ พ่อ- แม่พันธุ์ อายุมากกว่า 8 เดือน แม่พันธุ์อายุมากก็ยังมีไข่ฟักออกลดลง การให้พ่อพันธุ์อยู่ด้วยกันตลอดเวลา จะให้ไข่มีเชื้อสูงกว่า และถ้าเอาตัวผู้อยู่ร่วมกับตัวเมีย ก่อนเป็นหนุ่มสาว จะลดนิสัยจิกรังแกกัน

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ก า ร เ ลี้ ย ง น ก เ นื้ อ

    



          นกตัวผู้ที่เหลือจากการคัดเลือกไว้ทำพันธุ์ เมื่ออายุ 30 วัน แล้วนำมาเลี้ยง รวมกันในกรงนกรุ่น โดยใส่กรงละประมาณ 150 - 200 ตัว ให้อาหารไก่กระทงสำเร็จรูปก็ได้ เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 40 -50 วัน ก็จับขายได้ นอกจากนี้นกตัวเมีย ที่ให้ไข่ไม่คุ้มทุนก็นำมาขุนขายได้

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ก า ร เ ลี้ ย ง น ก ไ ข่ ( อ า ยุ 3 5 วั น ขึ้ น ไ ป )

          เมื่อนกอายุ 35 วันแล้ว ควรเปลี่ยนอาหารโดยให้อาหารที่มีโปรตีน ประมาณ 24 % เพื่อนกจะได้เจริญเติบโตเต็มที่มีขนเป็นมันเต็มตัว

          ให้นกได้กินอาหารและน้ำสะอาดตลอดเวลา ตามความต้องการ การให้อาหาร ควรใส่อาหารเพียงครึ่งราง จะช่วยลดการสูญเสียอาหาร เนื่องจากถูกคุ้ยเขี่ยหล่นได้

          หากนกได้กินอาหารที่จำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกจะจิกกันมากจะเห็นขนบนหลังนกเหลือประปราย

          โดยทั่วๆไปแล้ว หากนกได้กินอาหารที่มีจำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกกระทาจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 49 - 54 วัน และเมื่อเริ่มให้ไข่ฟองแรกนกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 120 - 140 กรัม ส่วนน้ำหนักฟองไข่ จะหนักประมาณ ฟองละ 9.6 - 10.4 กรัม

          นกกระทาจะไข่ดกที่สุดระหว่างอายุ 60 150 วัน นกกระทาบางตัว หใไข่ดกถึง 300 กว่าฟองต่อปี

          การเปลี่ยนอาหารสำหรับนกระยะให้ไข่ ไม่ควรเปลี่ยนกะทัน เพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อการให้ไข่

          พึงระมัดระวังอย่าให้มีลมโกรกมากเกินไป ควรให้แสงสว่างในเวลากลางคืนโดยมีแสงสว่าง ประมาณ 1 - 5 แรงเทียน ต่อตารางฟุต และความยาวของช่วงแสงไม่น้อยกว่า 14 ช.ม./วัน โดยแสงจะต้องกระจายทั่วไป อย่างสม่ำเสมอ อย่าให้มีเงามืดบังทับรางน้ำรางอาหาร

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

ก า ร คั ด เ ลื อ ก น ก ก ร ะ ท า

          โดยทั่วๆไปแล้ว การคัดเพศนกกระทานั้น ใช้วิธีสังเกตจากลักษณะภายนอกของนกกล่าวคือ สีของนกตัวผู้จะมีสีน้ำตาลแกมแดงเช่นกันซึ่งผู้รู้บางรายเรียกขนบริเวณแก้มนี้ว่าเครา นกตัวผู้ที่มีอายุ 30-40 วัน จะมีเสียงร้องขันด้วย ส่วนนกตัวเมีย ขนบริเวณคอสีไม่ค่อยเข้มหรืออาจมีสีน้ำตาลปนเทาและมีลายดำปนขาว

           ถ้าจะคัดเพศให้ได้ผลแน่นอน ให้ตรวจดูที่ช่องทวาร เมื่อปลิ้นช่องทวาร เมื่อปลิ้นช่องทวารหากสังเกตเห็นติ่งเล็กๆ นกตัวนั้นเป็นตัวผู้ ส่วนในตัวเมียจะเห็นช่องเปิดของปากท่อไว้ชัดเจน

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

ก า ร เ ลี้ ย ง น ก รุ่ น ตั้ ง แ ต่ อ า ยุ 1 5 - 3 5 วั น

           การให้อาหาร ใช้อาหารลูกนกตามเดิม แต่อย่าใส่อาหารจนเต็มราง ใส่เพียงครึ่งรางเท่านั้น และควรใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมวางวางบนรางอาหารเป็นการป้องกันมิให้นกคุ้ย เขี่ยอาหารหล่นออกมานอกราง

           การให้น้ำ ปฎิบัติเช่นเดียวกับการให้น้ำลูกนก ผิดกันแต่เพียงว่าไม่ต้องใส่ก้อนกรวดเล็กๆ ลงไปในจานน้ำอีกต่อไปแล้ว

          เมื่อลูกนกอายุได้ 3 สัปดาห์ หรือจะรอจนกว่าลูกนกอายุได้ 1 เดือนก็ได้จะต้องทำการคัดเพศ แยกลูกนกตัวผู้และตัวเมียเลี้ยงพวกละกรง สำหรับตัวผู้หากประสงค์จะเลี้ยงไว้ทำพันธุ์ก็คัดเลือกเอาตัวผู้ที่มีลักษณะ ดีไว้เท่านั้น พวกที่เหลือก็นำไปเลี้ยงไว้ทำพันธุ์ก็คัดเลือกเอาตัวผู้ที่มีลักษณะดีไว้ เท่านั้น พวกที่เหลือก็นำไปเลี้ยงขุนขายเป็นนกเนี้อต่อไป ส่วนนกตัวเมียหลังจากคัดเลือกเฉพาะตัวที่มีลักษณะดีแล้วควรจะทำการตัดปาก เสียก่อน ที่จะนำไปเลี้ยงในกรงต่อไป โดยใส่นกจำนวน 50 - 75 ตัวต่อกรง ตามปกติแล้ว เมื่อลูกนกอายุ 2 เดือน จะมี น้ำหนัก 60 - 65 กรัม

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553

ก า ร เ ลี้ ย ง ดู แ ล ะ ก า ร ใ ห้ อ า ห า ร น ก ก ร ะ ท า

          :: การเลี้ยงดูลูกนกตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 15 วัน ::

          เมื่อลูกนกฟักออกจากไข่หมดแล้ว สังเกตุ ดูเมื่อเห็นว่าขนแห้งดีแล้ว จึงค่อยนำออกมาจากตู้เกิด นำมาเลี้ยงในกรงกกลูกนก พื้นกรงควรปูรองด้วยกระสอบ ไม่ควร ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษถุงอาหารปูรองเพราะจะทำให้ลูกนกลื่นเกิดขาถ่างหรือขาพิการได้ โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักตังลูกนกเมื่ออายุ 1 วันจะหนัก ประมาณ 6.75 - 7.0 กรัม

          นำลูกนกมาเลี้ยงในกรงกก เพื่อให้ความอบอุ่นจะใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 60 วัตต์แขวนไว้ในกรงกก ให้สูงจากพื้นประมาณ 30 ซม. แต่ถ้าสังเกตุว่าลูกนกหนาวควรจะเปลี่ยนหลอดไฟเป็นขนาด 100 วัตต์ หากใช้ตะเกียงก็ตั้งไว้บนพื้นกรง ปกติแล้วจะกกลูกนกเพียงแค่ 1 - 2 สัปดาห์เท่านั้น แต่ทั้งนี้ให้สังเกตุที่ตัวลูกนกและอุณหภูมิภายนอกด้วย

           การให้อาหาร จะใช้อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงลูกนก หรือจะผสมอาหารเองก็ได้ โดยให้มีโปรตีนประมาณ 24 28 % หรือจะใช้อาหารไก่งวงก็ได้

           การให้น้ำ ใช้น้ำสะอาดใส่ในที่ให้น้ำ และใสกรวดเล็กๆ ลงในจานน้ำด้วย ในระยะ 3 - 7 วันแรกควรละลายพวกปฎิชีวนะผสมน้ำให้ลูกนกกิน จะช่วยให้เจริญเติบโตเร็วขึ้นและแข็งแรง ทั้งน้ำและอาหารจะต้องมีให้นกกินตลอดเวลา

           เมื่อลูกนกอายุได้ 1 สัปดาห์ ควรเปลี่ยนเอากระสอบที่ปูรองพื้นกรงแล้ว เอากระสอบใหม่ปูรอง หรือจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษถุงอาหารปูรองพื้นแทนก็ได้

           เมื่อลูกนกอายุได้ 10 วัน หรือ15 วัน ควรย้ายไปกรงนกรุ่นเพื่อไม่ให้แน่นเกินไปหากอากาศไม่หนาวเย็น ควรกกให้ไฟเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้นและเมื่อถึงอายุ 30 -35 วัน จึงย้ายเข้ากรงนกไข่ต่อไป

           ตามปกตินกจะมีขนงอกเต็มตัวเมื่ออายุ 3 - 4 สัปดาห์ และจะเป็นหนุ่มสาวเมื่อายุ 6 สัปดาห์

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

ปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั บ ผ ล ข อ ง ก า ร ฟั ก ไ ข่



          :: การทำให้ไข่ฟักมีเชื้อ ::

          1. ช่องระยะเวลาที่เอาตัวผู้เข้าผสม ตาม ปกติไข่อาจมีเชื้อได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผสมพันธุ์ หากผสมแบบธรรมชาติ หรือผสมแบบฝูง ราว 3- 5 วัน ให้เก็บไข่ไปพักได้ ถ้าเป็๋นฝูงใหญ่ ควรปล่อยตัวผู้ไว้ประมาณ 1 สัปดาห์จึงค่อย เก็บไข่ไปฟัก ทั้งนี้ในการผสมพันธุ์ถ้าเราเก็บไข่ไปเข้าฟักเร็วเกินไปทำให้ได้ไข่ไม่มี เชื้อมาก

          2. ฤดูกาล ฤดูฟักไข่ในเมืองไทยควรเริ่มตั้งแต่ปลายฤดูไปจนถึงเดือน มีนาคม ซึ่งโอกาสที่เชื้อแข็งแรงและผสมติดจะมีมากกว่าในฤดูร้อน เนื่องด้วยสัตว์ปีกมีอัณฑะอยู่ในร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงอยู่แล้ว ดังนั้นหากอากาศภายนอกสูงกว่า 94 องศาฟาเรนไฮต์ จะทำให้ตัวอสุจิเสื่อมสมรรถภาพและเป็น หมันชั่วคราว ฉะนั้นในฤดูร้อนจึงมักจะมีเชื้อต่ำกว่าฤดูธรรมดา

          3. อาหาร ในฤดูผสมพันธุ์ ควรใช้อาหารที่มีคุณภาพดี มีโภชนะ บริบูรณ์แก่พ่อแม่พันธุ์อย่างพอเพียง การให้อาหารที่ขาดวิตามินอื่น เป็นเวลานานๆ หรือพ่อพันธุ์อย่างเพียงพอ การให้อาหารที่ขาดวิตามินอี หรือวิตามิน อื่น เป็นเวลานานๆ หรือพ่อพันธุ์กินอาหารไม่เพียงพอย่อมมีผลต่อสุขภาพ ทำให้พ่อพันธุ์นั้นให้เชื้อที่ไม่แข็งแรง พ่อ- แม่ที่ใช้ทำพันธุ์ควรให้อาหารที่มีโปรตีนสูง กว่าระยะไข่ คือ มีโปรตีนประมาณ 24 %

          4. การผสมพันธุ์ พันธุกรรมมีผลต่อการมีเชื้อและการฟักออก การผสมเลือดชิดหลายๆชั่ว ( genneration ) จะทำให้ความสมบูรณ์พันธุ์ของไข่ลดลง เพราะถ่ายทอดลักษณะที่อ่อนแอมาด้วย

ตารางที่ 2 แสดงช่วงอายุการฟักออกเป็นตัว และการทำงานของตู้ฟัก สำหรับการฟักไข่ไก่ ไข่เป็ด และไข่นกกระทา

ไก่
เป็ด
นกกระทา
อายุฟัก (วัน)
อุณหภูมิ (องศาฟาเรนไฮต์, ตุ้มแห้ง)*
ความชื้น (องศาฟาเรนไฮต์, ตุ้มเปียก)*
ไม่ควรกลับไข่หลังจากวันที่ ...........................
อุณหภูมิในช่วง 3 วันสุดท้ายของการฟัก (องศาฟาเรนไฮต์, ตุ้มเปียก)*
เปิดช่องระบายอากาศ 1/4
21
99.75
85-87
19
90-94
10 วัน
28
99.5
84-86
25
90-94
12 วัน
17
99.75
84-86
15
90-94
8 วัน
หมายเหตุ * ในกรณีใช้เครื่องวัดความร้อนและความชื้นแบบตุ้มแห้ง-ตุ้มเปียก
ที่มา : สุภาพร, 2539


:: อาหารนกกระทา ::
          อาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทาจะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ และประเภทของการให้ผลผลิต เช่น เพื่อเป็นนกเนื้อ หรือนกไข่ ดังนั้นอาหารที่ใช้เลี้ยง ในแต่ละช่วงอายุ จะต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพดี ราคาถูกมีหลายสูตรให้เลือก ตามความเหมาะสม ตามฤดูกาล และวัตถุดิบ
          อาหารที่ใช้เลี้ยงนกกระทา อาจใช้
            1. อาหารสำเร็จรูป
            2.ใช้หัวอาหารผสมกับวัตถุดิบ
            3.ใช้วัตุดิบผสมเอง ซึ่งมีสูตรต่างๆ ดังนี้

ตารางที่ 3 สูตรอาหารนกกระทาที่อายุต่างๆ
วัตถุดิบ
จำนวน (กิโลกรัม)
0-2 สัปดาห์
3-4 สัปดาห์
5-6 สัปดาห์
7 สัปดาห์ - ไข่
ข้าวโพด
รำละเอียด
กากถั่วเหลือง (43%)
ปลาป่น
เมทไธโอนีน
เปลือกหอย
ไดแคลเซียม (P/18)
เกลือ
พรีมิกซ์
64-62
-
32.62
-
0.01
1
1
0.5
0.25
74.03
-
22.27
-
-
0.9
136
0.5
0.25
51.55
40
5.5
-
-
0.7
1.5
0.5
1.25
67
-
23.15
-
-
7.5
16
0.5
0.25
รวม
100
100
100
100
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัมนาสัตว์ปีกแห่งชาติ จ.ปราจีนบุรี (พ.ศ.2540)

          ปริมาณการให้อาหารนกกระทาของผู้เลี้ยงแต่ละรายจะแตกต่างกันไป สำหรับลูกนกอายุ 0-4 สัปดาห์ จะกินอาหารประมาณตัวละ 220 - 230 กรัม แต่เมื่อดตขึ้นในระยะให้ไข่จะกินอาหาร วันละ 20 -25 กรัม/ ตัว ให้อาหารวันละ 2- 3 ครั้ง โดยน้ำต้องมีให้นกกินตลอกเวลา

ตารางที่ 4 ปริมาณการกินอาหารของนกกระทา

อายุนกกระทา (สัปดาห์)
ปริมาณอาหารที่กิน (กรัม/ตัว/วัน)
0-1
1-2
2-3
3-4
4-5
5-6
6-7
7-8

3.86
7.09
9.40
12.26
16.23
17006
16.36
17.13
ที่มา : อภิชัย, (ไม่ระบุ พ.ศ.)

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

วิ ธี ฟั ก ไ ข่ น ก ก ร ะ ท า

             นกกระทาฟักไข่เองไม่ได้เช่นเดียวกันกับไก่พันธุ์ไข่ทั่วๆ ไปจึงจำเป็นต้องใช้ตู้ฟักไข่ นกกระทา ซึ่งใช้เวลาฟักประมาณ 16 - 19 วัน

          ก่อนที่จะนำไข่เข้าตู้ฟัก จะต้องทำความสะอาดตู้ฟักให้ดี แล้วรมฆ่าเชื่อ โรคในตู้ฟัก ใช้ด่างทับทิม 6 กรัมต่อฟอร์มาลินลงที่ขอบของภาชนะให้ฟอร์มาลินค่อยๆไหลลงไปทำปฎิกิริยากับ ด่างทับทิมจากนั้นรีบปิดประตูตู้ฟัก ( หากเป็นตู้ไข่ไฟฟ้า เปิดสวิทช์ให้พัดลมหมุนด้วย )ปล่อยให้ควันรมอยู่ในตู้ประมาณ 20 นาที จึง ค่อยเปิดประตูและช่องระบายอากาศให้กลิ่นหายไปจากตู้

           หากเก็บไข่ฟักไว้ในห้องที่มีความเย็น จะต้องนำไข่ฟักมาพักไว้สัก 2 ชั่วโมง เพื่อให้คลายความเย็นจนกว่าไข่ฟักจะมีอุณหภูมิปกติ จึงค่อยนำเข้าตู้ฟัก

           การวางไข่ในถาดฟักควรวางด้านปานของฟองไข่ขึ้นด้านบนเสมอ

          หากใช้ตู้ฟักไฟฟ้า ใช้อุณหภูมิ 99.5 องศาฟาเรนไฮต์ จะสูงต่ำกว่านี้ก็ไม่ควรเกิน 0.5 องศา ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70% ในช่วง 15 วันแรก และควรเพิ่มความชื้นเป็น 90 - 92 องศาฟาเรนไฮต์ในช่วงตั้งแต่ วันที่ 16 จนลูกนกฟักออก

          สำหรับการกลับไข่ ควรกลับไข่ไม่น้อยกว่าวันละ 3 ครั้ง ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มฟักจนถึงวันที่ 14 หลังจากนี้ให้หยุดกลับไข่เพื่อเตรียมไข่สำหรับการฟักออกเป็นตัวของลูกนก

          เมื่อฟักไข่ไปได้แล้ว 7 วัน ควรส่องไข่เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อหรือเชื้อตายหรือไม่และส่องดูไข่อีกครั้งเมื่อครบ 14 วัน ก่อนที่จะนำไข่ไปเข้าตู้เกิด เพื่อเตรียมการฟักออกของลูกนก หรือจะส่องไข่เพียงครั้งเดียวเมื่อฟักครบ 14 วัน แล้วก็ได้

วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

ก า ร เ ก็ บ รั ก ษ า ไ ข่ ฟั ก

          ไข่นกกระทาที่นำมาใช้ฟัก หมายถึงไข่ที่เก็บจากแม่นกที่ได้รับการผสมพันธุ์จากพ่อนกแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ และหลังจากนำพ่อนกออกมาจากการผสมพันธุ์แล้วไม่เกิน 1 สัปดาห์

          ไข่นกกระทาที่จะนำมาฟักนั้น หากไม่ได้นำเข้ามาฟักทันทีในแต่ละวัน จำเป็นต้องรวบรวมไว้ก่อน ซี่งมีวิธีการเก็บรักาาไข่ให้เชื้อยังแข็งแรงดังนี้
    1.     เก็บไว้ในที่มีอากาศเย็น และสะอาดไม่อับชื้น
    2.     เก็บไว้ในที่มีอากาศถ่ายเทหมุนเวียนได้ดี
    3.     หากสามารถทำได้ ควรเก็บไข่ไว้ในที่อุณหภูมิประมาณ 50-60 องศาฟาเรนไฮต์ ความชื้นสัมพัทธ์ 70%
    4.     ไม่ควรเก็บไข่ฟัก ไว้นานเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้การฟักออกเป็น ตัวลดลง

           เนื่องจากสีของเปลือกไข่นกกระทามีหลายสี มีจุดลายสีดำ สีน้ำตาล สีอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งอาจจะยากต่อการส่องไข่เพื่อดูจะดูว่าเป็นไข่มีเชื้อหรือไม่ หรือเชื่อตาย ดังนั้นหากต้องการล้างเอาสีล้างเอาสีของเปลือกไข่ออกเสียก่อน จะทำได้ดังนี้
      1.     จุ่มไข่ลงในน้ำยาสารควอเตอร์นารี แอมโมเนี้ย ที่มีอุณหภูมิ 85 - 95 องศาฟาเรนไฮต์
      2.     ใช้ฝอยขัดหม้อขัดเบาๆให้สีของเปลือกไข่หลุดออกมา
      3.     ปล่อยไข่ไว้ให้เปลือกไข่แห้ง จึงเก็บรวมนำไปฟักต่อไป